ข้อมูลงานวิจัย การผลิตแผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวาเพื่องานตกแต่งภายใน

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.สุนีย์ หทัยวสีวงศ์
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Sunee Hathaiwaseewong
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิศวกรรมศาสตร์
    • โทรศัพท์0891313XXX
    • E-Mail Addressunee.h@en.rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญวิศวกรรมสิ่งทอ
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00095
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การผลิตแผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวาเพื่องานตกแต่งภายใน
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Sheet Weave Making Process From Water Hyacinth Fiber For Interior Decoration
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.สุนีย์ หทัยวสีวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.พรรณราย รักษ์งาร
2. ผศ.นที ศรีสวัสดิ์
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ แผ่นจักสาน, แผ่นผักตบชวา, เส้นใยผักตบชวา, งานตกแต่งภายใน
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ผักตบชวามีชื่อสามัญว่า Water Hyacinth, Floating Water Hyacinth มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Eichlornia Crassipes Solms จัดอยู่ในวงศ์ Pontederiaceae เป็นพืชน้ำใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นกอลอยน้ำได้ ก้านใบจะพองออก ตรงกลางภายในลำต้นมีลักษณะเป็นรูพรุนทำให้ลอยน้ำได้ ขยายพันธ์โดยการใช้ไหล[1] ผักตบชวามีการเจริญเติบโตและสามารถขยายพันธุ์กระจายตัวในแหล่งน้ำได้อย่างรวดเร็ว โดยผักตบชวา 1 ต้นมีเมล็ด 5,000 เมล็ด และผักตบชวา 10 ต้น สามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณเป็น 1 ล้านต้นในระยะเวลา 1 ปี[2] จากการที่ผักตบชวามีการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ผลกระทบด้านการสัญจรทางน้ำ ผลกระทบต่อการชลประทาน ผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า และผลกระทบต่อภาคการเกษตร เป็นต้น รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดให้การแก้ไขปัญหาผักชวาเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกหน่วยงานจะต้องมีการบูรณาการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม และได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ทำการสำรวจผักตบชวาทั่วประเทศเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 พบว่าทั่วประเทศมีปริมาณ ผักตบชวา 6.1 ล้านตัน[3] ทำให้ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำกว่า 2 พันล้านบาท[4] จากการที่ผักตบชวามีการเจริญเติบโตและสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วทำให้มีปริมาณผักตบชวาเป็นจำนวนมากแพร่กระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ซึ่งทำให้การกำจัดผักตบชวาให้หมดไปนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงมีการการนำเอาผักตบชวา มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการเพิ่มมูลค่า เช่นการนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ ทำเป็นปุ๋ย ใช้งานด้านสิ่งทอ หรือทำเป็นผลิตภัณฑ์จักสาน เป็นต้น ในปัจจุบันได้มีการนำผักตบชวามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในงานตกแต่งภายใน แต่จะพบปัญหาการเกิดเชื้อราบนเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ตกแต่งภายใน เนื่องจากสมบัติของเส้นใยผักตบชวาดูดความชื้นได้ดี จึงง่ายต่อการถูกทำลายด้วยเชื้อรา และอีกประการหนึ่งคือ ยังมีสมบัติติดไฟง่ายและลุกไหม้ได้ดี จากเหตุผลดังกล่าวทำให้คณะผู้วิจัยมีแนวคิดในการปรับปรุงสมบัติด้านการป้องกันเชื้อราและการลามไฟของเส้นใยผักตบชวา และนำมาทำเป็นแผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวาเพื่อใช้ในงานตกแต่งภายใน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในที่มีสมบัติทนต่อการเกิดราและทนการลามไฟ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาวะและวิธีที่เหมาะสมในการตกแต่งเส้นใยผักตบชวาให้มีสมบัติการป้องกันเชื้อราและการลามไฟ 2. เพื่อศึกษาสมบัติด้านการป้องกันเชื้อราและการลามไฟของแผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวา 3. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเสริมสร้างอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี