-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.รัฐ ชมภูพาน
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Rath Chombhuphan
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0818781XXX
- E-Mail Addreshut_1978@hotmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญด้านการฝึกอบรม, ด้านอาชีวศึกษา ด้านการศึกษาเพื่ออาชีพ ด้านวิชาชีพคหกรรมศาสตร์,ด้านการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการ, ด้านงานวิจัยเชิงคุณภาพ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600053จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การศึกษาเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำจัดแหล่งผักตบชวาของ คลองรังสิต - ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Study of the Community Participation Network for the Removal of Water Hyacinth of Khlong Rangsit Pathum Thani, Pathum Thani Province |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.รัฐ ชมภูพาน |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.ชนากานต์ เรืองณรงค์ 2. ผศ.กฤติน ชุมแก้ว 3. ผศ.ไชยสิทธิ์ พันธุ์ฟูจินดา |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | เครือข่ายการมีส่วนร่วม, กำจัดแหล่งผักตบชวา |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ผักตบชวา เป็นวัชพืชที่มีแหล่งกำเนิดในทวีปอเมริกาแถบประเทศบราซิล แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป เพราะชอบสีสันตลอดจนรูปทรงของดอก จึงเอาไปปลูกเป็นไม้ประดับในอังกฤษ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ชาวเนเธอร์แลนด์ได้นำไปปลูกในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2424 ในสวนพฤกษศาสตร์ เมืองโบกอร์ และแพร่ระบาดออกสู่ลำน้ำต่างๆ ในประเทศอินโดนีเซีย ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2424 แล้วขยายพันธุ์รวดเร็วลงสู่แม่น้ำต่าง ๆจนต้องตราพระราชบัญญัติสำหรับผักตบชวาขึ้น ในปี พ.ศ.2456 แต่ระยะหลังได้ละเลิกการกวดขันตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ปัญหาผักตบชวาจึงสะสมและตกทอดจนถึงปัจจุบัน ผักตบชวาเป็นวัชพืชน้ำประเภทข้ามปีอยู่ในตระกูล Pontederiaceae มีความสามารถสูงในการขยายพันธุ์ พบว่าผักตบชวาเพียง 1 ต้น สามารถแตกไหล Stolon จนได้ต้นผักตบชวาจนเต็มพื้นที่ 600 ตารางเมตร โดยใช้เวลาเพียง 30 วัน ดังนั้นการกำจัดให้หมดสิ้น จึงเป็นเรื่องยากเพราะถ้าหลงเหลือเพียงไม่กี่ต้น ก็สามารถแพร่กระจายได้อีกในระยะเวลาอันสั้น แม้ว่าจะเห็นล่องลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่ลำต้น Stem ยังคงจมอยู่ใต้น้ำโผล่ให้เห็นเฉพาะส่วนที่เป็นก้านใบ Petole ก้านใบ มีลักษณะพองโป่ง เพื่อพยุงลำต้นใบและส่วนต่างๆ ของผักตบชวาให้ลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ การที่ผักตบชวาเป็นพืชทเจริญเติบโตอยางรวดเร็วและเกิดขึ้นอย่างเดียว ทําให้เกิดแนวทางในการนําไปใชประโยชนมีมากขึ้นเพราะมีปริมาณมาก และมีการเกิดของผักตบชวาขึ้นได้อย่างรวดเร็วจากผักตบชวาที่ได้กำจัดและนำที่ถูกนําไปใชประโยชนอยางรวดเร็ว การลอยน้ำของผักตบชวาช่วยในการเก็บเกี่ยวได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีลมหรือกระแสน้ำที่ช่วยในการพัดพามายังสถานที่ที่ต้องการเก็บเกี่ยวจะเป็นการช่วยประหยัดเวลาในการกำจัดผักตบชวาได้ดียิ่งขึ้นด้วย คลองรังสิตประยูรศักดิ์ หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า คลองรังสิตที่ทอดยาวไปตามเส้นทางไปจรดจังหวัดนครนายก เป็นคลองสายหลักในโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นโครงการคลองชลประทานเพื่อการเกษตรแห่งแรกของไทยที่ริเริ่มขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณทุ่งรังสิตให้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว รองรับการขยายตัวของการส่งออกข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยในขณะนั้น โครงการรังสิตนับเป็นโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ตั้งแต่ จังหวัดปทุมธานี บริเวณอำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา, จังหวัดนครนายก ในเขตอำเภอองครักษ์, กรุงเทพมหานคร บริเวณเขตหนองจอกและเขตบางเขน, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อำเภอวังน้อย และจังหวัดสระบุรี ที่อำเภอหนองแค การขุดคลองตามโครงการรังสิตนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนางานด้านชลประทานของประเทศไทย โดยเฉพาะการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรม การขุดคลองรังสิตและคลองแยกต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2448 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้พื้นที่รกร้างบริเวณทุ่งหลวงเปลี่ยนเป็นแหล่งเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีข้าวเป็นผลผลิตหลัก คลองรังสิตซึ่งเป็นคลองสายหลักจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนรังสิต เป็นทั้งแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก เส้นทางคมนาคม ตลอดจนใช้ในการอุปโภคและบริโภค แม้การพัฒนาอุตสาหกรรมได้ทำให้คลองรังสิตลดความสำคัญในฐานะคลองส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมลง เป็นเพียงคลองชลประทานสำหรับระบายน้ำ ซึ่งในจังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำลำคลองเป็นจำนวนมากและมีพื้นที่ที่ใช้น้ำในการทำการเกษตร ผักตบชวาก็เป็นวัชพืชที่ขวางทางเดินของน้ำและทำให้การชลประทานในพื้นที่ได้ผลน้อยเนื่องจากผักตบชวาสามารถขยายพันธ์ได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการกำจัดไปแล้วก็สามารถที่จะเกิดขึ้นมาทกแทนจำนวนเดิมได้ การสร้างความร่วมมือและทำความเข้าใจกับภาครัฐบาล เอกชน และชุมชนในท้องที่ในการช่วยกำจัดผักตบชวาจะเป็นผลดียิ่ง โดยได้มีการกำหนดพื้นที่ในการดูแลและกำจัดผักตบชวาและขยะไว้ตามแหล่งชุมชนต่างๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการจัดการขยะและผักตบชวาให้สามารถลดจำนวนได้น้อยลงโดยมีวิธีการและกระบวนการต่างๆและการจัดการและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือและร่วมใจในการลงมือปฏิบัติ ลงมือทำเพื่อให้กลไกเหล่านี้เกิดการยอมรับและตระหนักรู้ของคนทั่วไปที่อยู่ในสังคม ซึ่งเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กลุ่มคนเหล่านั้นเกิดความเข้าใจและร่วมมือกันในการทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวการศึกษาเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำจัดแหล่งผักตบชวาของ คลองรังสิต - ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จากการส่งเสริมของภาครัฐบาลในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางอาชีพให้กับชุมชน ปัจจุบันพบว่ามีวัชพืชที่เป็นผักตบชวาจำนวนมาก การพัฒนาและสร้างนวัตกรรมมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีความหลากหลาย ผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางในการสร้างบทบาทของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและวางแผนการใช้ประโยชน์จากผักตบชวาในการสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาต่อยยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป รวมถึงส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อความยั่งยืนทางการประกอบอาชีพต่อไป ซึ่งจะเป็นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาที่จะกำจัดผักตบชวาซึ่งเป็นวัชพืชเป็นการช่วยลดปริมาณของขยะและผักตบชวาให้นำมากลับมาใช้ประโยชน์ได้และพัฒนาไปสู่ใช้ศาสตร์ทางด้านการพัฒนาอาชีพทางด้านคหกรรมศาสตร์ให้เกิดประโยชน์กับสังคม อันจะเป็นการเสริมสร้างอาชีพและสร้างรายได้ ให้สามารถประกอบอาชีพช่วยเหลือตนเอง มีงานทำ ทำให้ชุมชนมีความสุขได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อศึกษาเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำจัดแหล่งผักตบชวาของคลองรังสิต - ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 2. เพื่อส่งเสริมการนำผักตบชวามาใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืนทางการประกอบอาชีพ ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง 3.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการกำจัดผักตบชวาที่สามารถสร้างให้กับชุมชนในพื้นที่คลองรังสิต – ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี |