-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.รัฐ ชมภูพาน
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Rath Chombhuphan
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0818781XXX
- E-Mail Addreshut_1978@hotmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญด้านการฝึกอบรม, ด้านอาชีวศึกษา ด้านการศึกษาเพื่ออาชีพ ด้านวิชาชีพคหกรรมศาสตร์,ด้านการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการ, ด้านงานวิจัยเชิงคุณภาพ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600089จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากไวนิลเหลือทิ้งเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดปทุมธานี |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Developing and creating value-added products from waste vinyl to generate income for communities in Pathum Thani Province |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.รัฐ ชมภูพาน |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.ชนากานต์ เรืองณรงค์ 2. ผศ.กฤติน ชุมแก้ว 3. ผศ.ไชยสิทธิ์ พันธุ์ฟูจินดา |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | การพัฒนา, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ไวนิลเหลือทิ้ง, การสร้างรายได้ |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ขยะมูลฝอยเป็นสิ่งที่เกิดมาควบคู่กับการบริโภคโดยเฉพาะในวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน พบว่าประเทศไทยประสบปัญหาในการจัดการขยะเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนของประชากรและวิถีชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไปรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดการบริโภคเพิ่มมากขึ้นและมีการบริโภคที่เป็นวิธีที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ส่งผลให้ขยะหรือสิ่งที่เหลือทิ้งเพิ่มมากขึ้นด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เห็นชอบและนำเสนอปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติและได้เห็นชอบ roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เสนอโดยกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 และได้ร่างการจัดการขยะพลาสติกแผนปฏิบัติการดานการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 ใหสอดคลองกับยุทธศาสตรชาติและแผนแมบทภายใตยุทธศาสตรชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 ซึ่งในจังหวัดปทุมธานีได้มีการกำหนดพื้นที่ในการจัดการขยะไว้ตามแหล่งชุมชนต่างๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการจัดการขยะให้สามารถลดจำนวนได้น้อยลงโดยมีวิธีการและกระบวนการต่างๆและการจัดการและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือและร่วมใจในการลงมือปฏิบัติ ลงมือทำเพื่อให้กลไกเหล่านี้เกิดการยอมรับและตระหนักรู้ของคนทั่วไปที่อยู่ในสังคม ซึ่งเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กลุ่มคนเหล่านั้นเกิดความเข้าใจและร่วมมือกันในการทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติกที่ได้จากไวนิลซึ่งพบว่ามีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นจากการผลิตและติดตั้งในการโฆษณาตามพื้นที่ต่างๆ ดังนั้นการที่จะลดปริมาณขยะที่ได้จากไวนิลให้ลดน้อยลงจำเป็นต้องนำมาผลิตและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้ จากเหตุผลดังกล่าวการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากไวนิลเหลือทิ้งเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดปทุมธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้แก่ ชุมชนเคหะคลองหก และสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชาย และสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิง ผู้วิจัยเห็นว่าการสร้างและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหลือใช้เพิ่มเติมความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและหลากหลายมากยิ่งขึ้นตรงกับความพึงพอใจและความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสีเขียวและลดปริมาณขยะในชุมชนโดยใช้แนวคิดขยะเป็นศูนย์ เป็นการช่วยลดปริมาณของขยะสิ่งของเหลือใช้ให้นำมากลับมาใช้ประโยชน์ได้และใช้ศาสตร์ทางด้านการพัฒนาอาชีพทางด้านคหกรรมศาสตร์ให้เกิดประโยชน์กับสังคม อันจะเป็นการเสริมสร้างอาชีพและสร้างรายได้ ให้สามารถประกอบอาชีพช่วยเหลือตนเอง มีงานทำ ทำให้ชุมชนมีความสุขได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป |
วัตถุประสงค์ | 1.เพื่อศึกษาวัสดุเหลือใช้จากไวนิลในการนำมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ 2.เพื่อพัฒนารูปแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือใช้จากไวนิล 3.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเสริมสร้างอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี |