ข้อมูลงานวิจัย การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้เหลือทิ้งจากตลาดไท

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.สุรชัย เตชะเอ้ย
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Surachai Techaoei
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงาน*คณะการแพทย์บูรณาการ
    • โทรศัพท์0982865XXX
    • E-Mail Addresdr.surachai1@gmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญMicrobiology, Biotechnology
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00031
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้เหลือทิ้งจากตลาดไท
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Research and development of excess produce and organic waste from Talaad Thai into cosmetic, personal care and household products
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.สุรชัย เตชะเอ้ย
2. ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ การจัดการขยะ/นวัตกรรมจากขยะเหลือทิ้ง/วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ตลาดไท เป็นตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีพื้นที่ 542 ไร่ มีผู้ค้า 3,500 ราย โดยมีปริมาณการค้าขายถึง 12,000 ตันต่อวัน การดำเนินการของตลาดจะก่อเกิดขยะปริมาณ 120-260 ตันต่อวัน ซึ่งร้อยละ 85 ของขยะเหล่านี้เป็นขยะอินทรีย์ที่มีสัดส่วนของผักผลไม้ที่ยังไม่เน่าเสียเกินร้อยละ 70 ผู้ประกอบการโรงเลี้ยงสัตว์จะรับขยะอินทรีย์บางส่วนเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ในบริเวณจังหวัดปทุมธานี คิดโดยเฉลี่ยเป็นปริมาณ 8 ตันต่อวัน นอกจากนั้นขยะที่เหลืออยู่จะถูกนำไปพักในหลุมขยะจังหวัดอยุธยาและกาญจนบุรีซึ่งก่อเป็นปัญหาสภาพแวดล้อมไม่น่าอยู่อาศัยในเขตจังหวัดดังกล่าว และยังเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการตลาดไทที่ต้องเสียค่าบริหารจัดการขยะ 10 ล้านบาทต่อปี เพื่อที่จะจัดการปัญหาปริมาณขยะที่มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดสูงมากและเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ทางคณะนักวิจัยที่ศูนย์ Center of Excellence (COE) มทร.ธัญบุรี จึงมีข้อเสนอวิจัยการแปรรูปขยะและระบบการซื้อขายที่สร้างประโยชน์และมูลค่าเพิ่ม (upcycling) จากขยะเหลือใช้ที่มีคุณภาพดี โดยมีขั้นตอนคือ 1) สร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (innovative products) ที่มีมูลค่าเพิ่มในกลุ่มอาหารเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล 2) สร้างระบบเครือข่ายการค้า (Fair trade network) เพื่อจำหน่ายสินค้าด้วยราคาเป็นธรรมและยั่งยืน วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและของสดเหลือทิ้งของตลาดไทโดยการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ใช้สอยแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขยะส่วนมากของตลาดไทมาจากพืชผัก เช่น เปลือกทุเรียนที่เป็นปัญหา (pain point) สำคัญของตลาดไทเพราะมีปริมาณมากในฤดูผลไม้ กำจัดเก็บยากด้วยลักษณะที่เป็นหนามแหลมโดยธรรมชาติ ต้องใช้บุคคลากรแยกเก็บจำเพาะ หรือแตงโมไส้ล้มที่ไม่สามารถขายได้และต้องทิ้งเป็นปริมาณมาก หรือใบผักกาดที่ต้องดึงทิ้งเพื่อจัดหัวผักให้ดูสวยงาม ก็นับเป็นขยะเหลือทิ้งที่มีปริมาณมากทุกวัน เป็นต้น ผลผลิตของโครงการคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่สร้างมูลค่าเพิ่มและตอบปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการจัดการขยะของตลาดไท ผลลัพธ์จากโครงการนี้นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะของตลาดไทและเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ โครงการนี้ยังสามารถพัฒนาตลาดไทให้เป็นชุมชนนวัตกรรมที่มีศักยภาพอีกแห่งหนึ่ง ทางผู้บริหารองค์กรมีความต้องการพัฒนานวัตกรรมการกำจัดขยะของตลาดไทอย่างต่อเนื่อง องค์กรมีการจ้างวิจัยวิธีการกำจัดขยะแบบต่าง ๆเพื่อหาแนวทางการกำจัดที่คุ้มทุน เช่น การนำขยะไปสร้างพลังงานทดแทน การ upcycle ขยะพลาสติกและขยะโฟมโดยการนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ แต่ทั้งนี้วิธีการเหล่านี้มีราคาแพงและไม่ตอบจุดคุ้มทุนขององค์กร ดังนั้นทางคณะกรรมการผู้บริหารตลาดไทจึงดำเนินการหาวิธีการใหม่ๆต่อไปที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ในกระบวนการสร้างชุมชนนวัตกรรมนี้นอกจากตลาดไทจะเป็นแหล่งวัตถุดิบแล้วคณะนักวิจัยและบุคคลากรตลาดไทมีแผนร่วมมือกันในด้านการแยกสรรขยะเหลือทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสะดวกต่อกรรมวิธีการแปรรูปต่อไปทันที ต่อจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้นจะสามารถจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดที่สร้างขึ้นในโครงการสร้างระบบเครือข่ายการค้าที่เป็นธรรม (Fair trade network)
วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่อนำขยะเหลือทิ้งจากตลาดไทมาวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม 3.2 เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองขยะที่ตลาดไทให้ได้วัตถุดิบคุณภาพเหมาะสม มีประสิทธิภาพการคัดแยกและสะดวกต่อการแปรรูปต่อเป็นผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม 3.3 เพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของบุคคลากรตลาดไท