-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Kitisak Witthayakomonlert
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงาน*คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0816963XXX
- E-Mail Addresti666ti@yahoo.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญการจัดประชุมระบบความคิดเห็น วิทยากรกระบวนการ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600034จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนเคหะชุมชนรังสิต (คลองหก) |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Development guidelines Creative economy in Housing Communities, Rangsit community (Khlong Hok) |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.โชติมา โชติกเสถียร 2. ผศ.ภดารี กิตติวัฒนวณิช 3. ผศ.วรางคณา วงศ์อุ้ย |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | เศรษฐกิจสร้างสรรค์ , ชุมชน , เศรษฐกิจชุมชน |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ชุมชนเคหะรังสิตคลองหก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งถือเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นที่ตั้งของตลาดเป็นย่านธุรกิจสำคัญที่ตั้งอยู่ในเมืองธัญบุรีที่ปัจจุบันถือยังเป็นชุมชนชานเมืองหลวงถือเป็นตัวแทนของชุมชนเมืองในพื้นที่ ที่มีความหลากหลายและซับซ้อนก่อตั้งมายาวนาน มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่ทับซ้อนกันมามากมายหากแต่ในอนาคต ชุมชนเคหะรังสิตคลองหก ถือเป็นชุมชนที่มีแนวโน้มในการพัฒนาเป็นเมืองที่มีความเจริญในอนาคต จากปัจจัยการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่โดยรอบ (ทางยกระดับกาญจนาภิเษกและบางปะอิน รถไฟฟ้าสายสีเขียว) การเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ (พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ฯลฯ) และการย้ายเข้ามาของสวนสัตว์ดุสิต อีกทั้งการเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่หลายแห่งในพื้นที่โดยรอบ ด้วยปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นได้ว่าอนาคตของชุมชนเคหะรังสิตคลองหก และพื้นที่เมืองธัญบุรีในอนาคต จะมีการพัฒนาเป็นเมืองที่มีความเจริญมากยิ่งขึ้น หากแต่ในปัจจุบันชุมชนเคหะรังสิตคลองหก ยังมีลักษณะการพัฒนาเป็นเพียงชุมชนท้องถิ่น มีระบบเศรษฐกิจแบบพื้นฐานซื้อมาขายไป ไม่มีการพัฒนาต่อยอด ทั้งในด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ การค้า หรือลักษณะทางกายภาพของการค้าในขณะที่สถานที่ล้อมรอบเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนามกีฬาแห่งชาติ และมีส่วนราชการที่มีความเจริญล้อมรอบชุมชนในขณะที่ชุมชนเคหะคลองหก เป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้ทันกับความเจริญของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบชุมชนนั้น ดังนั้นเมื่อมองถึงปัจจัยในการจะเป็นเมืองขนาดใหญ่ในอนาคตแล้ว การพัฒนาต่อยอดเศรษฐกิจชุมชนในชุมชนเคหะรังสิตคลองหกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการเพื่อตั้งหลักรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยวิจัยจึงได้นำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่กล่าวถึง การสร้างมูลค่าสินค้า หรือบริการที่เกิดจากความคิดของมนุษย์ บนแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้(Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ทางสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ บนฐานของการลดต้นทุนและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจชุมชนเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับชุมชนโดยเน้นทำให้ชุมชนมีจุดเด่นและจุดขายแสดงศักยภาพของชุมชนตลอดจนเป็นชุมชนน่าอยู่ นำผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนเคหะชุมชนรังสิต (คลองหก) มาส่งเสริมธุรกิจและบริการในพื้นที่โดยเชื่อมโยงเรื่องราวของย่าน ผู้คน และภาคธุรกิจ เข้ากับมาตรการส่งเสริมและการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนเคหะชุมชนรังสิต (คลองหก)ทำการศึกษาบนแนวคิดศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ในการเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจในศักยภาพ และตัวตนของพื้นที่ศึกษา แล้วจึงสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และภาคธุรกิจในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการสร้างการเรียนรู้เพื่อรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนา และสุดท้ายจึงพัฒนาเป็น แนวทางการพัฒนาเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้การพัฒนา และขยายผลเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่สังคม ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมธุรกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อกระบวนการคิด การผลิต และการตลาด พร้อมทั้งเกื้อกูลให้ธุรกิจจากภายนอก และธุรกิจดั้งเดิมในพื้นที่ ได้ประโยชน์จากการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะมีส่วนนำผลการศึกษาเสนอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ภาคธุรกิจในพื้นที่ชุมชนเคหะรังสิต ได้ทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการย้ายถิ่น ช่วยสร้างงานสร้างโอกาสช่วยดึงดูดให้มีการลงทุนใหม่ทั้งจากในพื้นที่และนอกพื้นที่ กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ สร้างความเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกิจและบุคลากรสร้างสรรค์ และส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในการเป็นศูนย์รวมของบุคลากร เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ โดยใช้คณาจารย์ และนักศึกษาเป็นกำลังสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ภาครัฐ ภาคชุมชนและนักวิชาการผ่านรายวิชาบูรณาการในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งสาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และสาขาสถาปัตยกรรมภายใน ในรายวิชาการวางผังโครงการ วิชาสถาปัตยกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิชาออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน2 วิชาการตลาดในงานสถาปัตยกรรมภายใน และวิชาการจัดนิทรรศการ และในส่วนคณะบริหารธุรกิจ ทั้งสาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาเศรษฐศาสตร์มหภาค ในรายวิชาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ เศรษฐศาสตร์จุลภาค และเศรษฐศาสตร์มหภาค เพื่อสร้างความยั่งยืนให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นศูนย์รวมเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน และสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจในพื้นที่ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป |
วัตถุประสงค์ | 1 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนเคหะชุมชนรังสิต (คลองหก) 2 เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และภาคธุรกิจในพื้นที่ 3 เพื่อศึกษาผลกระทบของเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อชุมชนน่าอยู่และเศรษฐกิจยังยืน 4 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้การพัฒนา และขยายผลเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่สังคม |