-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ดร.ไฉน น้อยแสง
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ดร.Chanai Noisaeng
- ตำแหน่งทางวิชาการ-
- ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
- คณะ/หน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา
- โทรศัพท์0813427XXX
- E-Mail Addres
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600061จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มชะลอวัยที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากชานอ้อย |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Development of anti-aging serum product containing sugar cane bagasse (Saccharum officinarum L.) extract. |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.มนสิชา ขวัญเอกพันธุ์ |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.วรเชษฐ์ ขอบใจ 2. ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | ชานอ้อย, ชะลอวัย, เซรั่ม, เครื่องสำอาง |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพและความงามยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ ยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2560) โดยพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและชะลอวัยมีแนวโน้มเติบโตและน่าจับตามองในอนาคต (อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มปี 62, ม.ป.ป.) และจากข้อมูลการตลาดเครื่องสำอางโลก คาดการว่า ในปี ค.ศ. 2020 ตลาดเครื่องสำอางเติบโต 3.6% ที่มูลค่า 335.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญอย่างมากกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระและเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสารธรรมชาติกว่าร้อยละ 42 (คลังข้อมูลอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเวชสำอาง, 2560.) วัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมการผลิตทางการเกษตรและแปรรูปผักผลไม้มีปริมาณเพิ่มขึ้นตามกำลังการผลิตในทุก ๆ ปี กลายเป็นขยะหรืออาหารสัตว์หรือทำเป็นปุ๋ยเพื่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าไม่สูงมากนัก อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเพราะเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศบราซิล ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในเขตพื้นที่สำรวจรวม 47 จังหวัด (กลุ่มวิชาการและสารสนเทศอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย, 2560) จังหวัดที่ปลูกอ้อยมากที่สุดคือ กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา ลพบุรี และขอนแก่น ตามลาดับ (กลุ่มวิชาการเกษตรและสารสนเทศ, 2558) ซึ่งทำให้พบวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมน้ำตาลจำนวนมาก ชานอ้อย (Sugarcane Bagasse) เศษเหลือของลำต้นอ้อยมีลักษณะเป็นเส้นใยที่หีบเอาน้ำอ้อยออกจากท่อนอ้อยแล้ว เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่พบได้มากในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ซึ่งพบว่าสารสกัดไดคลอโรมีนจากอ้อยมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่นที่ดีและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (พรรณพิไล ชาญชัยศักดิ์, 2550) สารสกัดเอธานอลจากอ้อยพบสารกลุ่ม Flavonoids, Terpenoids, Coumarins และ Protein (Devika & Parameswari, 2017) นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดเมธานอลจากอ้อยมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Staphylococcus aureus ที่มีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางวงใสในการยับยั้งอยู่ในช่วง 8.67 - 24.00 มิลลิเมตร (Williams I.O., et.al., 2016) ดังนั้นคณะผู้วิจัยเล็งเห็นว่าควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มชะลอวัยที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากชานอ้อยต้นจำหน่ายในเชิงพาณิชย์อันเป็นการเพิ่มขีดสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด อีกทั้งยังเป็นการวิจัยเพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น Thailand 4.0 ภายใต้ "BCG Economy" โมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม |
วัตถุประสงค์ | 1) ทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากชานอ้อย 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มชะลอวัยมีส่วนผสมของสารสกัดจากชานอ้อย 3) ทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์เซรั่มชะลอวัยมีส่วนผสมของสารสกัดจากชานอ้อย 4) เพื่อผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรั่มชะลอวัยมีส่วนผสมของสารสกัดจากชานอ้อยจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ |