-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.พรรณราย รักษ์งาร
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Pannarai Rug-ngarn
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิศวกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0841453XXX
- E-Mail Addres
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญวิศวกรรมสิ่งทอ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600035จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การผลิตแผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวาเพื่องานตกแต่งภายใน |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Sheet Weave Making Process From Water Hyacinth Fiber For Interior Decoration |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.สุนีย์ หทัยวสีวงศ์ |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.พรรณราย รักษ์งาร 2. ผศ.นที ศรีสวัสดิ์ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | แผ่นจักสาน, แผ่นผักตบชวา, เส้นใยผักตบชวา, งานตกแต่งภายใน |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ผักตบชวามีชื่อสามัญว่า Water Hyacinth, Floating Water Hyacinth มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Eichlornia Crassipes Solms จัดอยู่ในวงศ์ Pontederiaceae เป็นพืชน้ำใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นกอลอยน้ำได้ ก้านใบจะพองออก ตรงกลางภายในลำต้นมีลักษณะเป็นรูพรุนทำให้ลอยน้ำได้ ขยายพันธ์โดยการใช้ไหล[1] ผักตบชวามีการเจริญเติบโตและสามารถขยายพันธุ์กระจายตัวในแหล่งน้ำได้อย่างรวดเร็ว โดยผักตบชวา 1 ต้นมีเมล็ด 5,000 เมล็ด และผักตบชวา 10 ต้น สามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณเป็น 1 ล้านต้นในระยะเวลา 1 ปี[2] จากการที่ผักตบชวามีการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ผลกระทบด้านการสัญจรทางน้ำ ผลกระทบต่อการชลประทาน ผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า และผลกระทบต่อภาคการเกษตร เป็นต้น รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดให้การแก้ไขปัญหาผักชวาเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกหน่วยงานจะต้องมีการบูรณาการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม และได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ทำการสำรวจผักตบชวาทั่วประเทศเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 พบว่าทั่วประเทศมีปริมาณ ผักตบชวา 6.1 ล้านตัน[3] ทำให้ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำกว่า 2 พันล้านบาท[4] จากการที่ผักตบชวามีการเจริญเติบโตและสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วทำให้มีปริมาณผักตบชวาเป็นจำนวนมากแพร่กระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ซึ่งทำให้การกำจัดผักตบชวาให้หมดไปนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงมีการการนำเอาผักตบชวา มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการเพิ่มมูลค่า เช่นการนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ ทำเป็นปุ๋ย ใช้งานด้านสิ่งทอ หรือทำเป็นผลิตภัณฑ์จักสาน เป็นต้น ในปัจจุบันได้มีการนำผักตบชวามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในงานตกแต่งภายใน แต่จะพบปัญหาการเกิดเชื้อราบนเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ตกแต่งภายใน เนื่องจากสมบัติของเส้นใยผักตบชวาดูดความชื้นได้ดี จึงง่ายต่อการถูกทำลายด้วยเชื้อรา และอีกประการหนึ่งคือ ยังมีสมบัติติดไฟง่ายและลุกไหม้ได้ดี จากเหตุผลดังกล่าวทำให้คณะผู้วิจัยมีแนวคิดในการปรับปรุงสมบัติด้านการป้องกันเชื้อราและการลามไฟของเส้นใยผักตบชวา และนำมาทำเป็นแผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวาเพื่อใช้ในงานตกแต่งภายใน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในที่มีสมบัติทนต่อการเกิดราและทนการลามไฟ |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อศึกษาสภาวะและวิธีที่เหมาะสมในการตกแต่งเส้นใยผักตบชวาให้มีสมบัติการป้องกันเชื้อราและการลามไฟ 2. เพื่อศึกษาสมบัติด้านการป้องกันเชื้อราและการลามไฟของแผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวา 3. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเสริมสร้างอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี |