ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)อ.ยชญ์รวินทร์ จรบุรมย์
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)อ.Yodrawin Jornburom
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
    • คณะ/หน่วยงาน*คณะพยาบาลศาสตร์
    • โทรศัพท์0937367XXX
    • E-Mail Addresyodrawin2019@gmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญ
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00029
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Center of Excellence Intellectual Health Promotion in Elderly
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.อุบลวนา ขวัญบุญจันทร์
2. ผศ.นพภัสสร วิเศษ
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) การพัฒนา,ออกแบบที่พักอาศัย เสริมสร้าง, สุขภาวะทางปัญญา, ผู้สูงอายุ
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) development center, Health Promotion, Intellectual Well-Being, elderly.
หลักการและเหตุผล โครงสร้างของ ประชากรไทยกำลังกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” และคาดว่าจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสูงสุดในอีกไม่ถึง 20 ปีขึ้นหน้า จากแนวโน้มของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นนี้ จะทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ต้องได้รับการดูแลมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะทุกด้าน มากขึ้นทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปในทางเสื่อม ลงทำให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลง เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น อาจเนื่อง มาจากมีภาวะเสื่อม หลงลืม ความคิดช้าลง สมรรถนะ ถดถอย การเจ็บป่วยอะไรเองได้น้อยลง ทำให้เกิดความไม่สุขสบายใจ วิตกกังวล เครียด อารมณ์เศร้า สภาวการณ์เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะต่อ ระบบประสาทสมองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถิติผู้สูงอายุในปัจจุบัน มีประชากรผู้สูงอายุ 6,824,000 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10.86 (จากประชากรทั้งหมด 62,829,000 คน) ซึ่งถ้าเทียบเป็นสถิติแล้วอาจมองว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ได้มีจานวนที่สูงมากเมื่อเทียบกับวัยอื่น ซึ่งถ้าจำแนกประชากรของผู้สูงอายุเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1) ประชากรผู้สูงอายุวัยต้น (60-79 ปีขึ้น) มีจานวน 6,172,000 คน 2) ประชาการผู้สูงอายุวัยปลาย (80-99 ปี) มีจานวน 648,000 คน และ 3) ประชากร ศตวรรษิกชน (100 ปีขึ้นไป) มีจำนวน 4,000 คน ซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,824,000 คน ตามข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นนั้นตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2513-2543 และการคาดประมาณการประชากรของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2543-2568 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงปี พ.ศ.2563 ซึ่งอาจจะถึงร้อยละ 33.5 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย ในปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวน 9,934,309 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ สำหรับจังหวัดปทุมธานี คิดร้อยละ 12.10 (กรมการปกครอง กระทรวงมหาไทย, 2559) ทั้งจากสถิติการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปทุมธานี พบว่า 1 ใน 12 ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี, 2560) ทั่วประเทศมีผู้สูงอายุสมองเสื่อมร้อยละ 12.40 (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2560) จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในชุมชนเคหะรังสิต ตำบล คลองหลวง อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พบ 1,426 ครัวเรือน เกือบทุกครัวเรือนจะพบผู้อายุอยู่ติดบ้านจำนวน 1-2 คน อยู่บ้านในตอนกลางวันตามลำพังโดยไม่มีผู้ดูแล ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมของสภาพร่างกายและสรีรวิทยา จึงมีโอกาสเกิดโรคง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบบ้านพักอาศัยภายนอกและภายในของเคหะชุมชนรังสิต (คลองหก) ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านพักอาศัยที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 2. เพื่อสรุปแนวคิดและออกแบบต้นแบบพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านพักอาศัยเคหะชุมชนรังสิต (คลองหก) ที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 3. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความจำของผู้สูงอายุในชุมชนเคหะรังสิตคลองหก ก่อนและหลังการเข้าร่วม โปรแกรมการบริหารสมองภายในบ้านพักอาศัยที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุในชุมชนเคหะรังสิตคลองหก ต่อการโปรแกรมการบริหารสมองภายในบ้านพักอาศัยที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 5. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและคนในครอบครัวในชุมชนเคหะรังสิตคลองหก ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการบริหารสมองภายในบ้านพักอาศัยที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 6. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย 7. เพื่อสร้างต้นแบบหลักสูตรพัฒนาแกนนำสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาวะด้านปัญญา และต้นแบบแหล่งการเรียนรู้ด้านสุขภาพทางปัญญา