-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.อุบลวนา ขวัญบุญจันทร์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Ubonwana Kwanboonchan
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
- คณะ/หน่วยงาน*คณะพยาบาลศาสตร์
- โทรศัพท์0625904XXX
- E-Mail Addresubonwanak@gmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600020จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาออกแบบที่พักอาศัยเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Center of Excellence Intellectual Health Promotion in Elderly |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.อุบลวนา ขวัญบุญจันทร์ 2. ผศ.นพภัสสร วิเศษ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | การพัฒนา,ออกแบบที่พักอาศัย เสริมสร้าง, สุขภาวะทางปัญญา, ผู้สูงอายุ |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | development center, Health Promotion, Intellectual Well-Being, elderly. |
หลักการและเหตุผล | โครงสร้างของ ประชากรไทยกำลังกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” และคาดว่าจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสูงสุดในอีกไม่ถึง 20 ปีขึ้นหน้า จากแนวโน้มของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นนี้ จะทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ต้องได้รับการดูแลมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะทุกด้าน มากขึ้นทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปในทางเสื่อม ลงทำให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลง เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น อาจเนื่อง มาจากมีภาวะเสื่อม หลงลืม ความคิดช้าลง สมรรถนะ ถดถอย การเจ็บป่วยอะไรเองได้น้อยลง ทำให้เกิดความไม่สุขสบายใจ วิตกกังวล เครียด อารมณ์เศร้า สภาวการณ์เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะต่อ ระบบประสาทสมองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถิติผู้สูงอายุในปัจจุบัน มีประชากรผู้สูงอายุ 6,824,000 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10.86 (จากประชากรทั้งหมด 62,829,000 คน) ซึ่งถ้าเทียบเป็นสถิติแล้วอาจมองว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ได้มีจานวนที่สูงมากเมื่อเทียบกับวัยอื่น ซึ่งถ้าจำแนกประชากรของผู้สูงอายุเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1) ประชากรผู้สูงอายุวัยต้น (60-79 ปีขึ้น) มีจานวน 6,172,000 คน 2) ประชาการผู้สูงอายุวัยปลาย (80-99 ปี) มีจานวน 648,000 คน และ 3) ประชากร ศตวรรษิกชน (100 ปีขึ้นไป) มีจำนวน 4,000 คน ซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,824,000 คน ตามข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นนั้นตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2513-2543 และการคาดประมาณการประชากรของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2543-2568 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงปี พ.ศ.2563 ซึ่งอาจจะถึงร้อยละ 33.5 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย ในปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวน 9,934,309 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ สำหรับจังหวัดปทุมธานี คิดร้อยละ 12.10 (กรมการปกครอง กระทรวงมหาไทย, 2559) ทั้งจากสถิติการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปทุมธานี พบว่า 1 ใน 12 ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี, 2560) ทั่วประเทศมีผู้สูงอายุสมองเสื่อมร้อยละ 12.40 (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2560) จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในชุมชนเคหะรังสิต ตำบล คลองหลวง อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พบ 1,426 ครัวเรือน เกือบทุกครัวเรือนจะพบผู้อายุอยู่ติดบ้านจำนวน 1-2 คน อยู่บ้านในตอนกลางวันตามลำพังโดยไม่มีผู้ดูแล ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมของสภาพร่างกายและสรีรวิทยา จึงมีโอกาสเกิดโรคง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อศึกษารูปแบบบ้านพักอาศัยภายนอกและภายในของเคหะชุมชนรังสิต (คลองหก) ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านพักอาศัยที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 2. เพื่อสรุปแนวคิดและออกแบบต้นแบบพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านพักอาศัยเคหะชุมชนรังสิต (คลองหก) ที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 3. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความจำของผู้สูงอายุในชุมชนเคหะรังสิตคลองหก ก่อนและหลังการเข้าร่วม โปรแกรมการบริหารสมองภายในบ้านพักอาศัยที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุในชุมชนเคหะรังสิตคลองหก ต่อการโปรแกรมการบริหารสมองภายในบ้านพักอาศัยที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 5. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและคนในครอบครัวในชุมชนเคหะรังสิตคลองหก ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการบริหารสมองภายในบ้านพักอาศัยที่เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 6. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย 7. เพื่อสร้างต้นแบบหลักสูตรพัฒนาแกนนำสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาวะด้านปัญญา และต้นแบบแหล่งการเรียนรู้ด้านสุขภาพทางปัญญา |